คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับไซนัสอักเสบ

คำถามที่แพทย์ หู คอ จมูก ได้รับบ่อยจากพ่อแม่ เมื่อลูกของท่านเป็นไซนัสอักเสบ

คำถามที่แพทย์ หู คอ จมูก ได้รับบ่อยจากพ่อแม่เมื่อลูกของท่านเป็นไซนัสอักเสบ

1.ไซนัส (Sinuses) คือ อะไร และมีทำหน้าที่อะไรบ้าง ?

ไซนัสคือโพรงอาการที่อยู่ภายในกะโหลกกศรีษะบริเวณส่วนใบหน้า มีทั้งหมด 4 คู่

คู่ที่ 1 อยู่บริเวณโหนกแก้มท้ายจมูก

คู่ที่ 2 อยู่บริเวณหัวคิ้วระหว่างลูกตา

คู่ที่ 3 อยู่บริเวณหน้าผาก

คู่ที่ 4 อยู่บริเวณส่วนกลางกะโหลกศีรษะเชื่อว่ามีดังนี้

1.ทำให้กะโหลกศีรษะมีน้ำหนัก

2.ช่วยให้เกิดความก้องกังวาลของเสียง

3.บางคนเชื่อว่าในการปรับอุณหภูมิและความชื้นให้กับอากาศก่อนเข้าสู่ปอด

2. ทำไมจึงมีภาวะการอักเสบของ Sinuses

ปกติ โพรงอากาศไซนัส (Sinuses) จะมีรูเปิดเรียกว่า Ostium ซึ่งมีขนาดเล็ก และบางครั้งอยู่สูงกว่าโพรงไซนัส เมื่อใดก็ตามรูเปิดที่อาจเกิดจากการบวมของเยื่อบุจากหวัดหรือภูมิแพ้ ทำให้เกิดการคั้งค้างของน้ำมูกภายในโพรงจมูก ซึ่งเป็นสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรคทำให้เกิดการอักเสบ ขึ้น

3. เมื่อเด็กป่วยเป็นไซนัสอักเสบจะมีอาการอย่างไรบ้าง

อาการไซนัสอักเสบมีได้หลายอย่างแต่บ่อยครั้งที่การวินิจฉัยโรคอื่น โดยเฉาะไข้หวัดผู้ป่วยจะมีอาการตั้งแต่

- มีน้ำมูกไหลข้นเหนียว

- มีเสมหะไหลลงคอกระตันให้เกิดอาการไอโดยเฉพาะเวลากลางคืน

- มีอาการคัดจมูกแน่นจมูก

- ปวดบริเวณรอบๆจมูก หรือหัวคิ้วหน้าผาก

- ในเด็กบางคนอาจจะบ่นว่ามีอาการปวดศรีษะโดยเฉพาะเวลาเช้า

- บ่อยครั้งรู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ คล้ายมีไข้

- ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น,บางครั้งการรับรู้กลิ่นจะสูญเสียไป

4. ในเด็กจะพบภาวะไซนัสอักเสบบ่อยแค่ไหน ?

- พบมีปัญหาได้บ่อยวันหนึ่งประมาณ 30% ของประชากร จะเคยป่วยเป็นไซนัสอักเสบ

โดยทั่วไปไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งควรจะหายภายใน 7-10 วัน แต่ถ้าเด็กยังมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเสมหะเขียวอยู่ จะถือว่าเกิดจากภาวะไซนัสอักเสบเฉียบพลันขึ้นโดยส่วนใหญ่ อาการของไซนัสจะดีขึ้นหลังได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ภายในเวลาไม่เกิน 3 แต่ถ้าเด็กมีอาการอักเสบ ยาวนานมากกว่า 3 อาทิตย์ และยังไม่มีอาการดีขึ้นหลังการรักษาจะถือว่าเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง ซึ่งทำการรักษายากลำบากกว่าไซนัสอักเสบเฉียบพลัน เพราะต้องหาสาเหตุชักนำที่ทำให้เกิดขึ้นและแก้ไขภาวะนั้นภาวะไซนัสอักเสบ เรื้อรังจึงจะหาย

5. สาเหตุที่ทำให้เกิดไซนัสอักเสบมีอะไรบ้าง?

เราพบว่าไข้หวัดเป็นสาเหตุสำคัญของไซนัสอักเสบเฉียบพลัน แต่ในไซนัสอักเสบเรื้อรังจะมีสาเหตุจาก ภาวะหวัดเรื้อรังจากภูมิแพ้ แกนกั้นจมูกคด มีริดสีดวงจมูกหรือก้อนเนื้องอกในจมูก ตลอดจนสิ่งแปลกปลอมในช่องจมูก ซึ่งภาวะเหล่านี้ทำให้เกิดการคั้งของน้ำมูอุดตันรูเปิดของไซนัสจึงทำให้เกิด ไซนัสอักเสบ เรื้อรังขึ้น นอกจากนี้ผู้ป่วยบางคนมีภูมิคุ้มกันบกพร่องก็เป็นสาเหตุอีกอันหนึ่งที่ไม่ ควร จะมองข้ามไป

6. ทำไมอาการปวดไซนัสจึงมีมากขึ้นเวลาเช้าหลังตื่นนอน

เนื่องจากเวลาเรานอนหลับจะเกิดการคั้งค้างของหนองภายในโพรงไซนัส ประกอบกับมีการคั้งของหลอดเลือดจากภาวะการนอน ทำให้การถ่ายเทของไซนัสไม่ดี จะเกิดการสะสมของของเหลวเป็นจำนวนมากภายใต้การกดดันภายในโพรงไซนัส จึงทำให้เกิดการปวดขึ้น

7. การรักษาไซนัสอักเสบทำได้อย่างไร?

หลักการสำคัญการรักษาไซนัสอักเสบ คือการให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุสำคัญของไซนัสอักเสบ โดยส่วนใหญ่แพทย์นิยมให้ยาปฏิชีวนะจำพวก Ampicilin และSulfa ที่ครอบคลุมเชื้อราที่เป็นสาเหตุของไซนัสอักเสบได้ดี แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะมาก่อน ทำให้เกิดการดื้อต่อยาเหล่านี้ ทำให้แพทย์อาจต้องเหลือใช้ยาปฏิชีวนะที่ ครอบคลุมเชื้อได้มากขึ้น แต่จะต้องมีราคาแพงกว่าดังเช่นกลุ่ม Augmentin และ Cephalosporin นอกจากนี้แพทย์อาจให้ยา อย่างอื่นร่วมรักษาด้วยเช่นยาลดบวมของเยื่อบุจมูเพื่อลดอาการคัดจมูก และอาการบวม ของเยื่อบุจมูก ทำให้น้ำมูกไหลเวียนได้ดีขึ้น จากช่องจมูก ยาละลายเสมหะ เพื่อลดความเหนียวของน้ำมูก ลดอาการคั้งค้างของน้ำมูกในโพรงไซนัส น้ำเกลือล้างจมูกเพื่อล้างเอาน้ำมูกและเสมหะที่ค้างอยู่ในช่องจมูกออก เป็นต้น เพื่อช่วยให้อาการ ไซนัสอักเสบดีขึ้นโดยเร็ว หรือบางรายแนะนำให้อบไอน้ำ หรือสูดดม Eucalyptus oil เพื่อลดอาการคัดจมูก ก็อาจจะทำให้

8. จำเป็นต้องกินยาแก้อักเสบไปนานเท่าไร จึงจะหยุดยาได้ ?

เนื่องจากยาปฏิชีวนะเข้าไปในโพรงไซนัสไม่ค่อยดีดังนั้นระยะเวลาของการรักษา จำเป็นต้อง นานมากกว่าปกติ โดยตองได้รับยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 10-14 วันในบางราย ที่ไซนัสเรื้อรัง อาจจะต้องให้ยาปฏิชีวนะนานถึง 6-8 สัปดาห์

9. จำเป็นต้องกินยาลดน้ำมูกด้วยหรือไม่ ?

ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยกินยาลดน้ำมูก เพราะผลข้างเคียงของยาแก้แพ้หรือยาลดน้ำมูกจะทำให้เสมหะ และน้ำมูกแห้งเกิดการคั้งค้างของน้ำมูก ซึ่งเป็นข้อเสีย มากกว่าผลดี ทำให้เชื้อโรคเจริญได้ดีขึ้น ยกเว้นจะให้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคภูมิแพ้ที่เป็นสาเหตุชักนำทำให้เกิด ไซนัสอักเสบเท่านั้น

10. การทำผ่าตัดโพรงจมูกไซนัส จะมีความจำเป็นต้องทำมากน้อยแค่ไหน และจะทำเมื่อไร ?

ส่วนใหญ่การรักษาไซนัสอักเสบเฉียบพลัน หรือเรื้อรังมักจะได้ผลมากกว่า 90% เมื่อทำการรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะธรรมดา ทำให้การผ่าตัดรักษามีบทบาทน้อยลง เราจะทำการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดเมื่อการรักษาด้วยยาแล้วผู้ป่วยมีอาการไม่ดีขึ้น หรือมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นจากการอักเสบของไซนัส หรือมีโรคพื้นฐานที่เป็นสาเหตุชัก นำที่ทำให้เกิด ไซนัสอักเสบเรื้อรังขึ้นเช่น ริดสีดวงจมูก, แกนกั้นจมูกคด หรือปากรูท่อเปิดไซนัสตีบตัน เป็นต้น

11. การผ่าตัดไซนัสทำอย่างไรได้บ้าง ?

ในปัจจุบันแพทย์ หู คอ จมูก จะใช้กล้องขนาดเล็กส่องตรวจเข้าไปในช่องจมูก โดยไม่เปิดแผลที่จมูกและใบหน้า และจะตรวจดูภาวะต่างๆ ที่เป็นสาเหตุและ จะผ่าตัดแก้ไขไซนัส อักเสบผ่านทางกล้องขนาดเล็กเหล่านี้ ซึ่งเรียกว่า FESS (Function Endoscopic Sinuese Surgery) โดยถ่ายทอดออกทางโทรทัศน์ ให้ผู้ป่วยได้มองเห็นไปด้วย ใช้เวลาทำประมาณ 1-2 ชม. และอาจจะเลือกวิธีฉีดยาชา หรือดมยาสลบก็ได้โดยหลักการรักษาแพทย์จะเอาเนื้อเยื่อ ี่เป็นอักเสบ และเป็นสาเหตุของโรคออกต้องทำลายเนื้อเยื่อปกติให้น้อยที่สุด และขยายรูเปิดของโพรงไซนัสอักเสบให้กว้างขึ้นอาการก็จะดีขึ้นตามมา

12. ภาวะแทรกซ้อนของไซนัสอักเสบมีอะไรบ้าง ?

เนื่องจากโพรงไซนัสอักเสบอยู่ไกล้กับลูกตาและสมอง ดังนั้นภาวะแทรกซ้อนของไซนัสอักเสบอาจลุกลามเข้าสู่ลูกตา ทำให้เกิดลูกตาอักเสบได้ หรือ ลุกลามติดเชื้อ ไปในสมอง เกิดเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบและฝีในสมองได้ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนสำคัญ ถึงแม้จะไม่พบบ่อยก็ตาม ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

13. การป้องกันไม่ให้เกิดไซนัสอักเสบทำได้อย่างไร ?

เนื่องจากไข้หวัดเป็นสาเหตุสำคัญ ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เป็นไข้หวัดโดยการออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และหลีกเลี่ยง การคลุกคลี กับผู้ป่วยเป็นไข้หวัด ก็จะลดการเป็นไซนัสอักเสบได้และเมื่อเป็นไข้หวัด ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาไข้หวัด ถ้าท่านมีประวัติป่วยเป็น หืดเรื้อรังจากภูมิแพ้ ควรจะต้องทำการรักษา โดยแพทย์ภูมิแพ้เพื่อควบคุมอาการของโรคให้ได้และต้องหลีกเลี่ยงสารที่ ก่อให้เกิด ภูมิแพ้ด้วย เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น นุ่น ขนสัตว์ต่างๆ เท่าที่ทำได้เพื่อลดอาการของ หวัดเรื้อรัง ในบางคนมีปัญหาคัดจมูกเรื้อรัง จากเยื่อบุจมูกไวต่อสิ่งระคายเคือง เช่นบุหรี่ ควันรถยนต์ ควันจากการประกอบอาหาร หรือสเปรย์น้ำหอมต่างๆ ก็จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงเหล่านี้ด้วย เพราะจะทำให้เยื่อบุจมูกบวม และเกิดการติดเชื้อตามมา นอกจากนี้ถ้าพบว่าท่านมีแกนกั้น จมูกคดจนมีอาการ คัดจมูก หรือริดสีดวงจมูกคดจนมีอาการคัดจมูก หรือมีริดสีดวงจมูก รวมทั้งสิ่งแปลกปลอมต่างๆในช่องจมูก ควรต้องรีบผ่าตัดแก้ไขภาวะเหล่านั้น เสียก่อน เกิดไซนัส อักเสบตามมา