โรคหยุดหายใจขณะหลับ

โรคหยุดหายใจขณะหลับ ( SLEEP APNEA )

โรคหยุดหายใจขณะหลับ ( SLEEP APNEA )

กลไกที่ทำให้เรานอนหลับและตื่น ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการนอนได้ตั้ง สมมุติฐาน ว่า ในสมองมีกลไกอยู่สองอย่างที่ทำให้เราง่วงนอน และทำให้ เราตื่น กลไกชนิดแรกเป็นขบวนการ ทางสรีรวิทยา ซึ่งกระตุ้นให้เราเกิด ความรู้สึก ง่วงนอน การที่คนทั่วไปจะตื่นได้ตลอด 16 ชม. จะต้องใช้ เวลานอน อย่างน้อย 8 ชม. กลไกนี้เกิดทั้งในเวลากลางคืน และกลางวัน ถ้าเรานอนในเวลากลางคืนไม่พอก็จะง่วงนอน ในเวลากลางวัน แต่ถ้านอน เพียงพอแล้วก็จะไม่ง่วงเวลากลางวัน กลไกชนิดที่สองคือ ร่างกายจะมีการทำงานระบบหนึ่งเรียกว่า นาฬิกาประจำตัวเรา ในสมองมีศูนย์ควบคุมเวลาอยู่ในส่วนลึกตรงกลางสมอง ซึ่งจะเป็นนาฬิกาในสมองบอกว่าเมื่อไหร่จะถึงเวลาตื่น เมื่อไหร่จะถึงเวลาหลับ เราสามารถตั้งนาฬิกาในสมองเราเองได้ แต่ต้องใช้เวลา ในการปรับนาฬิกา อยู่บ้าง จะเปลี่ยนแปลง เวลานอนเวลาตื่นกะทันหันไม่ได้ ธรรมชาติมีผลต่อการทำงาน ของนาฬิกาในสมองเราคือแสงสว่าง แสงสว่างในเวลากลางวัน ทำให้ร่างกายหยุดหลั่งฮอร์โมนชนิดหนึ่ง เรียกว่าเมลาโทนิน ซึ่งทำหน้าที่ให้เราง่วงนอน แสงสว่างซึ่งมีผลทำให้

ใครที่เป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ

มักพบในผุ้ชายมากกว่าผู้หญิง คนอ้วนมากกว่าคนผอม อ้วน คอสั้น คอใหญ่ คางเล็ก ลิ้นใหญ่ ลิ้นไก่สั่น ลิ้นไก่ใหญ่และยาว วัยกลางคนขึ้นไป ในคนตัวเล็กคอไม่ใหญ่ก็พบได้บ้าง

อาการ

ง่วงในเวลากลางวันหลับในที่ไม่ควรหลับ นั่งที่ไหนหลับที่นั่น หลับขณะทำงาน ขณะอ่านหนังสือหรือดูโทรทัศน์ นั่งรถก็หลับ หลับคาพวงมาลัยเป็นการหลับที่ไม่สามารถต่อด้านได้เกิดอุบติเหตุบ่อยขณะขับรถ สาเหตุที่ง่วงเพราะกลางคืนนอนหลับไม่สนิท สมองถูกปลุกให้ตื่นเนื่องจากร่างกายหายใจติดขัดชั่วโมงละหลายสิบครั้ง ผู้ที่เป็นโรคนี้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจจะเสียชีวิตได้เนื่องจากหัวใจหยุดเต้นขณะหลับ

การวินิจฉัย

จากการซักประวัติคนไข้ ลักษณะรูปร่าง บางคนมีความดันโลหิตสูง การตรวจในห้องปฏิบัติการ การนอนหลับ Sleep Test ซึ่งมีเครื่องมือบันทึกสัญญาณต่างๆ ในขณะที่คนไข้หลับตลอดคืนแล้ว เอาค่าต่างๆ ที่วัดออกมา

วิเคราะห์ ว่าผู้ป่วยเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่ นอกจากนั้นการส่องกล้องชนิด Fiberoptic scope สามารถแยกโรคได้โดยเฉพาะในกรณีที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนร่วมด้วย (Obstructive Sleep Apnea)

การรักษา

1. ในกรณีที่มีการหยุดหายใจขณะหลับที่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลางต้องหยุดยาที่ มีผลกดประสาทเช่นสุราลยานอนหลับและหาสาเหตุของโรคอย่างอื่นร่วมด้วย

2. ในกรณีที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนร่วมด้วย Obstructive Sleep apnea เช่นลิ้นไก่ใหญ่ ทอนซิลโต ลิ้นโต ( Large Tongue Base) พิจารณารักษาโดยการผ่าตัดซึ่งในปัจจุบันสามารถทำได้ในลักษณะ OPD case โดย LASER หรือ Radiosurgery .

3. ในกรณีที่ไม่อยากผ่าตัดหรือมีปัญหาไม่สามารถผ่าตัดได้พิจารณาใช้เครื่องมือ Nasal CPAP เพื่อเปิดทางเดินหายใจส่วนบน

มีปัญหาปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง