หูชั้นกลางอักเสบชนิดมีน้ำเหลือขังหลังแก้วหู

พบมากในเด็กอายุน้อยกว่า 1-2 ปี แต่สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ

อาการ

1. ปวดหู ในเด็กบางครั้งไม่สามารถบอกว่าปวดหู

2. การได้ยินลดลง ในเด็กมักจะมาด้วยเรื่อง พูดไม่เชื่อฟัง การเรียนที่แย่ลง

3. หูอื้อ (เหมือนมีเสียงในหูและการได้ยินเสียงเปลี่ยนไป)

สาเหตุโดยตรง

จากการติดเชื้อของทางเดิน หายใจส่วนบนเช่น เยื่อบุลำคออักเสบ ต่อมอดินอยด์เสบ ไซนัสอักเสบ ไข้หวัดแล้วทำให้มีการติดเชื้อโรคชนิดแบคทีเรียภายในหูชั้นกลาง

สาเหตุเสริม

1. ภาวะภูมิแพ้ เช่นโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้อากาศ

2. การติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อยๆ เช่น เด็กในสถานเลี้ยงเด็ก เด็กในโรงเรียน เป็นต้น

3. บุหรี่ การสูบบุหรี่ภายในครอบครัว ( พ่อ หรือ แม่ สูบบุหรี่ ) ทำให้เกิดอุบัติการเกิดโรคมากขึ้น

4. มลภาวะทางอากาศ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว

การรักษา

1. หลีกเลี่ยงสาเหตุเสริมที่กล่าวแล้วข้างต้น

2. ได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและได้รับยาปฎิชีวนะที่เหมาะสมภายในช่วงเวลาที่พอเหมาะ

3. ในกรณีที่รักษาโดยยาตามที่แพทย์สั้งแล้วยังคงมีน้ำขังหลังแก้วหูจะต้องรักษา โดยการผ่าตัดเจาะแก้วหูและใส่ Myringotomy tube เพื่อระบายน้ำออกจากหูชั้นกลางและปรับความดันระหว่างหูชั้นกลางและหูชั้นนอก

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดใส่ Myringotomy tube

1. มีน้ำขังหลังแก้วหูเป็นเวลามากกว่า 12 สัปดาห์

2. รักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมแล้วน้ำไม่ลดลงภายใน 4 สัปดาห์

3. หูชั้นกลางอักเสบร่วมกับมีการแฟบลงของแก้วหู (Otitis Media With Atelectasis or Retraction Pocket )

4. การได้ยินลดลงมาก (Severe Conductive Hearing Loss)

5. หูชั้นกลางอักเสบที่เริ่มจะกลายเป็นชนิดร้ายแรง(Impending Cholesteatoma)

6. ในกรณีที่พบในรายที่มีเพดานโหว่ Cleft Palate

7. ในกรณีที่ผป.มีการติดเชื้อในหูชั้นกลางบ่อยๆ (Otitis M edia prone)

การป้องกัน

1. หลีกเลี่ยงสาเหตุเสริมที่กล่าวแล้วข้างต้น เช่น สูบบุหรี่ มลภาวะทางอากาศ ฯลฯ

2. ในกรณีที่ผป.มีโรคภูมิแพ้ควรจะได้รับการรักษาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

3. รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเช่น ทานอาหาร ผักผลไม้ครบทุกอย่าง และออกกำลังกายสม่ำเสมอ