การส่องกล้อง ENDOSCOPY

การส่องกล้อง ENDOSCOPY ทางด้าน หู คอ จมูก

เนื่องจากปัจจุบันพบว่ามีสารก่อมะเร็ง (Carcinogen) และสารก่อภูมิแพ้ (Allergen) ในสิ่งแวดล้อม อากาศและอาหารมากขึ้นทำให้ อุบัติการของ โรคมะเร็ง และโรคภูมิแพ้สูงขึ้นอีกทั้งโรคมะเร็ง บริเวณจมูกและลำคอส่วนใหญ่จะไม่มีอาการในช่วงแรก ทำให้การวินิจฉัย และการรักษาล่าช้าเพราะฉะนั้นการตรวจร่างกาย เป็นประจำ กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยการส่องกล้อง ENDOSCOPY จะช่วยในการวินิจฉัยและการรักษามะเร็งตั้งแต่แรกเริ่ม

ประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับ

1.ตรวจวินิจฉัยและรักษามะเร็ง (Carcinoma) บริเวณ ลำคอ กล่องเสียง (Larynx and pharynx) จมูกและหลังโพรงจมูก (Nose and Nasopharynx) ได้อย่างแม่นยำ

2.ช่วยในการตรวจวินิจฉัยโรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) และภาวะแทรกซ้อนเช่นโรคไซนัสอักเสบทั้งแบบเฉียบพลัน (Acute Sinussitis) และ แบบเรื้อรัง (Chronic Sinusitis)

3.ช่วยในการตรวจความผิดปรกติของโพรงจมูกเช่น โพรงจมูกแคบและผนังกั้นจมูกคด (Deviation OI Nasal Septum) และเนื้องอกในโพรงจมูกเ ช่น ริดสีดวงจมูก (Nasal Polyp)เป็นต้น

4.ช่วยในการตรวจการทำงานของเส้นเสียง (Vocal cord function and mobility) และเนื้องอกของเส้นเสียง (Vocal Mass and vocal Nodule) โดยละเอียด

ผู้ป่วยที่ควรได้รับการตรวจโดยวิธีการส่องกล้องนี้

1.ผู้ป่วยที่มีอัตราเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งบริเวณลำคอ กล่องเสียง และหลังโพรงจมูก เช่น สูบบุหรี่จัดเป็นเวลานานๆ ดื่มเหล้าเป็นประจำ เคี้ยวหมากเป็นประจำ เป็นต้น

2.ผู้ป่วยที่คลำพบก้อนและหรือต่อมน้ำเหลืองโต (Lymphadenopathy) นานเกิน 2 สัปดาห์

3.ผู้ป่วยที่มีอาการหวัดเรื้อรังและคัดจมูกเป็นเลือดประจำและหรือมีเลือด กำเดา (Epistaxis) บ่อยๆ

4.ผู้ป่วยที่มีอาการปวดบริเวณศรีษะและใบหน้าโดยไม่ทราบสาเหตุ

5.ผู้ป่วยที่มีอาการกลืนลำบากเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ

6.ผู้ป่วยที่มีอาการกลืนลำบากเรื้อรัง (Persistent Dysphagia) หรือ แบบเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ (Progessive Dysphagia)

การส่องกล้องทาง หู คอ จมูก แบ่งเป็น 2 แบบ

1.การส่องด้วยกล้องนำแสงแบบแท่ง (Rigid Telescope) เหมาะสำหรับส่องภายในโพรงจมูกไซ และลำคอส่วนบน (Nose and Paranasal inus and Upper pharynx)

2.การส่องกล้องด้วยนำแสงด้วยใยแก้ว (Fiberoptic scope ) เหมาะสำหรับส่องภายในกล่องเสียงและหลอดลมส่วนต้น (Larynx and Upper Tracheobronchai tree )

ตัวอย่างวีดีโอจากการส่องกล้อง Fiberoptic Laryngoscope ในผู้ป่วยที่มาด้วยอาการไอออกเลือด