ประสาทหูเสื่อมชนิดเฉียบพลัน

ประสาทหูเสื่อมชนิดเฉียบพลัน

(Sudden Sensorineural Hearing Loss)

ภาวะนี้บางคนเรียกวา “โรคหูดับฉับพลัน” หมายถง การที่ประสาทหูเกิดการเสื่อม

ทันทีทันใด หรือภายในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งร้อยละ 85-90 ไม่ทราบสาเหต มีเพยงรอยละ 10-15

เท่านั้นที่ทราบสาเหตุ ผู้ที่เป็นโรคนี้อาจมีอาการเพียงรู้สึกได้ยินน้อยลงเล็กน้อย หรืออาจจะรู้สึก

สูญเสียการได้ยินมาก จนไม่ได้ยินในหูข้างที่เป็นเลยก็ได้ การสูญเสียการได้ยินชนิดประสาทรับฟัง

เสียงเสียดังกล่าวอาจเป็นเพียงชั่วคราว (เช่นได้ยินเสียงดังทำให้หูอื้อ และสักพัก หูจะหายอื้อ หรือ

รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแอสไพรน, ยาขับปสสาวะ แล้วหูอื้อ เมื่อยาดังกล่าวหมดฤทธิ์

อาการหูอื้อดังกล่าวจะหายไป) หรืออาจเป็นถาวรก็ได จนถึงขั้นหูหนวก ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ไม่ได้รับ

การรักษา หรือได้รับการรักษาช้าเกินไป

โรคนี้พบได้ไม่บอย จากสถิติของโรงพยาบาลศิริราช พบภาวะนี้ร้อยละ 7.7 ของผู้ป่วย

ประสาทหูเสื่อมทั้งหมดที่มาพบแพทย์ ส่วนใหญ่มักพบในผู้ป่วยสูงอายุ (40 - 70 ปี) และมักเกิดที่หู

ข้างเดียว โดยพบในเพศชายเท่ากับเพศหญิง

สาเหตุ

1. ไม่ทราบสาเหตุ อาจเกิดจาก

1.1 การติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหัด, หัดเยอรมัน, งูสวัด, คางทูม, ไข้หวัด

ใหญ่ อาจทําให้มีการอักเสบของประสาทหู และเซลล์ประสาทหู ทําให้อวัยวะดังกล่าว

ทําหน้าที่ผิดปกติไป เชื้อไวรัสสามารถผ่านเข้าสู่หูชั้นในทางกระแสเลือด, ผ่านทางนํ้า

ไขสันหลัง หรือ ผ่านเข้าหูชั้นในโดยตรง (ไวรัสที่ทําให้เกิดโรคหัด และไข้หวัดใหญ่ มักทําให้ประสาทหูเสื่อมทั้ง 2 ข้าง ส่วนไวรัสที่ทําให้เกิดโรคคางทม มักทาให้

ประสาทหูเสื่อมเพียงข้างเดียว)

1.2 การอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน ทําให้มีเลือดไปเลี้ยงหูชั้นในลดลง ทําให้

เซลล์ประสาทหู และประสาทหูขาดเลือด และทําหน้าที่ผิดปกติไป เส้นเลือดที่ไปเลี้ยง

หูชั้นใน หรือเซลล์ประสาทหูนั้น ไม่มีแขนงจากเส้นเลือดใกล้เคียงมาช่วย เมื่อมีการ

อุดตัน จะทําให้เซลล์ประสาทหูตาย และเกิดประสาทเสื่อมได้ง่าย เส้นเลือดอาจอุดตัน

จาก

1.2.1 เส้นเลือดแดงหดตัวเฉียบพลัน จากความเครียด, การพักผ่อนไม่เพียงพอ,

ออนเพลีย หรือไม่ทราบสาเหตุ

1.2.2 เส้นเลือดที่เสื่อมตามวัย แล้วมีไขมันมาเกาะตามเส้นเลือด

(arteriosclerosis) และมีโรคบางโรคที่อาจทําให้เส้นเลือดดังกล่าวตีบแคบ

มากขึ้น เช่น โรคความดันโลหิตสูง, โรคไขมันในเลือดสูง, โรคเบาหวาน

1.2.3 เลือดข้น จากการขาดนํ้า, การขาดออกซิเจนเรื้อรัง

1.2.4 มีลิ่มเลือดมาอุดเส้นเลือด (embolism หรอ thrombosis) อาจเกิดจาก

โรคหัวใจ หรือจากการบาดเจ็บที่อวัยวะต่างๆ

1.2.5 การอักเสบของเส้นเลือด (vasculitis)

1.3 การรั่วของนํ้าในหชั้นใน เข้าไปในหูชั้นกลาง (perilymphatic fistula) ซึ่งอาจเกิดจาก

การเบ่ง, การสั่งนํ้ามูกแรงๆ, การไอแรงๆ หรอการที่มีความดันในสมองสูงขึ้น ทําให้

ประสาทหูเสื่อม และมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน และเสียงดังในหู

2. ทราบสาเหตุ

2.1 การบาดเจ็บ

2.1.1 การบาดเจ็บที่ศีรษะ อาจทําให้เกิดการรั่วของนํ้าในหูชั้นใน เข้าไปในหูชั้น

กลาง หรือกระดูกบริเวณกกหูหัก (fracture of temporal bone) ทําให้มีการ

บาดเจ็บของเส้นประสาทหู เซลล์ประสาทหู หรือมีเลือดออกในหูชั้นใน

2.1.2 การผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดหูชั้นกลาง (มีการเคื่ลอนไหวของกระดูกหู)

หรือหูชั้นใน เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนกระดกโกลน (stapedectomy) เพื่อให้

การได้ยินดีขึ้น, การผ่าตัดเนื้องอกของหูชั้นกลาง หรือของประสาทการ

ทรงตัว (acoustic neuroma) 3

2.1.3 การเปลี่ยนแปลงของความกดดนของหูชั้นใน เชน การเปลี่ยนแปลงของ

ความกดดนของบรรยากาศ (barotrauma) เชน ดํานา, ขึ้นที่สูง หรือ

เครื่องบิน และได้ยินเสียงที่ดังมากในระยะเวลาสั้นๆ (acoustic trauma)

เชน เสียงปะทด , เสียงระเบด, เสียงปน

2.2 เนื้องอก เช่น เนื้องอกของประสาททรงตัว ที่มีการเพิ่มขนาดอย่างเฉียบพลัน (เช่นมี

เลือดออกในก้อนเนื้องอก) จนอาจไปกดทบประสาทหูได้

2.3 การติดเชื้อของหูชั้นใน เช่น หูชั้นในอักเสบ (labyrinthitis) จากหูชั้นกลางอักเสบ

เฉียบพลัน หรือเรื้อรัง (acute or chronic otitis media), จากเชื้อซิฟิลิส, เยื่อหุ้มสมอง

อักเสบ (เชื้อแบคทเรียมักเข้าสู่หูชั้นในทางนํ้าไขสันหลัง ซึ่งมักจะทําให้ประสาทหู

เสื่อมทั้ง 2 ข้าง)

2.4 สารพิษและพิษจากยา ยาบางชนิดอาจทําให้หูตึงชั่วคราวได้ เช่น ยาแก้ปวดที่มี

ส่วนประกอบของ salicylate, ยาขับปสสาวะ หลังหยุดยาดังกล่าว อาการหูอื้อ หรือหูตึง

มักจะดีขึ้น และอาจกลับมาเป็นปกติ ยาบางชนิดอาจทําให้ประสาทหูเสื่อมอยางถาวร

ได้ เชน ยาตานจุลชีพ กลุ่ม aminoglycosides เชน streptomycin, kanamycin,

gentamicin, neomycin, amikacin ประสาทหูที่เสื่อมจากยานี้ อาจเกิดทันทีหลังจากใช้

ยา หรือเกิดหลังจากหยุดใช้ยาไประยะหนึ่งแล้วก็ได้

2.5 โรคมีเนีย หรือนํ้าในหูไม่เท่ากัน โรคนี้นํ้าในหูที่มีปริมาณมาก อาจกดเบียดทําลาย

เซลล์ประสาทหู ทําให้ประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันได้ มักมีอาการเสียงดังในหู หรือ

เวียนศีรษะ บ้านหมุนร่วมด้วย

อาการและอาการแสดง

ผู้ป่วยจะมีอาการหูอื้อ หรือการได้ยินลดลงในหูข้างที่เป็นอย่างเฉียบพลัน มักไม่ค่อยได้ยิน

เสียง เมื่อผู้พูดอยู่ไกล และมักได้ยินดีขึ้นในบรรยากาศที่เงียบสงัด ปราศจากเสียงรบกวน มักเป็น

ในหูข้างเดียว ถ้าเป็นทั้งสองข้าง ผู้ป่วยจะพูดดังกว่าปกติ อาจมีเสียงดังในหูซึ่งมักจะเป็นเสียงที่มี

ระดับความถี่สูง เช่น เสียงจิ้งหรีด เสียงจักจั่น หรือเวียนศรีษะรวมด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจกลัวเสียง

ดังๆ หรือทนฟังเสียงดังไม่ได้ (เสียงดังจะทำให้เกิดอาการปวดหู และจับใจความไม่ได้)

การวินิจฉัย

โรคนี้อาศัยการซักประวัติ, การตรวจร่างกาย และการสั่งการสืบค้นเพิ่มเติมโดยแพทย์ การ

ซักประวัติได้แก่ การสอบถามอาการทางหู และสาเหตุที่เป็นไปได้ทั้งหมด ที่จะทำให้เกิดประสาทหู

เสื่อมชนิดเฉียบพลัน การตรวจร่างกายได้แก่ การตรวจหูด้วยเครื่องส่องหู (otoscope) เพื่อดูพยาธิ

สภาพของช่องหู, เยื่อบุแก้วหู และหูชั้นกลาง และบริเวณรอบหู และการตรวจร่างกายโดยทั่วๆไปท 4

พยายามหาสาเหตุของประสาทหูเสื่อมชนิดเฉียบพลัน การสบคนเพิ่มเติมได้แก่ การตรวจเลือดเพื่อ

หาความผิดปกติของเคมในเลือด, การตรวจปัสสาวะ, การตรวจการได้ยิน เพื่อยืนยันและประเมิน

ระดับความรุนแรงของประสาทหูเสื่อมชนิดเฉียบพลัน, การตรวจคลื่นสมองระดับก้านสมอง และ

การถ่ายภาพรังสี เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง หรือกระดูกหลังหู หรือตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ในผู้ป่วยบางราย

การรักษา

1. ในรายที่ทราบสาเหตุ รักษาตามสาเหตุ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญไม่สามารถรักษาประสาทหู

ที่เสื่อมให้คนดูในสภาพปกติได้ มักเป็นการรักษาตามอาการ (เช่น อาการเวียนศรีษะ, เสียง

ดังในหู) หรือป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ (เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ)

2. ในรายที่ไม่ทราบสาเหตุ มักจะมีโอกาสหายได้เองสูงถึงร้อยละ 60-70 ส่วนใหญ่การรักษา

มงหวงใหม่การลดการอักเสบของประสาทหู และให้มีเลือดไปเลี้ยงหูชั้นในมากขึ้น และลด

การรั่วของน้ำในหูชั้นในเข้าไปในหูชั้นกลาง (ถาม)

3. ยาลดการอักเสบจาพวกสเตียรอยด์ (oral prednisolone) มีจุดมุ่งหมายลดการอักเสบของ

ประสาทหู และเซลล์ประสาทหู ซึ่งถ้าไม่มีข้อห้ามในการใช้ นิยมให้รับประทานยาสเตียรอยด์

ในขนาด 0.5-1 mg/kg ต่อวัน ประมาณ 1 สัปดาห์ ถ้าการได้ยินดีขึ้น อาจรับประทานยาสเตียรอยด์

ต่อจนครบ 2 สัปดาห์ แล้วค่อยๆลดยาลง ถ้ารับประทานยาไปแล้ว 1 สัปดาห์ ระดับการได้ยินไม่ดี

ขึ้น อาจพิจารณาฉีดยาสเตยรอยด์เข้าในหูชั้นกลางโดยผ่านทางเยื่อแก้วหู (intratympanic steroid

injection) และค่อยๆลดยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานลง หรือในรายที่มีข้อห้ามในการใช้

ยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทาน อาจพิจารณาฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปในหูชั้นกลางตั้งแต่ต้น หรืออาจ

ให้การรักษาร่วมกันทั้งรับประทานยาสเตียรอยด์ และฉีดยาสเตียรอยด์เข้าในหูชั้นกลางก็็ได้

ยาขยายหลอดเลือด มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหูชั้นในมากขี้น เช่น nicotinic acid,

betahistine

ยาวิตามิน อาจช่วยบำรุงประสาทหูที่เสื่อม

ยาลดอาการเวียนศีรษะ (ถามอาการ)

4. การนอนพัก มีจุดประสงค์เพื่อลดการรั่วของน้ำในหูชั้นในเข้าไปในหูชั้นกลาง (ถาม) แนะนำให้

ผู้ป่วยนอนพัก โดยยกศีรษะสูงประมาณ 30 องศาจากพื้นราบเพื่อให้มีความดันในหูชั้นในน้อยที่สุด

ไม่ควรทํางานหนัก หรือออกกําลังกายที่หักโหม บางรายแพทย์อาจแนะนําให้นอนพักรักษาตัวอยู่

ในโรงพยาบาลประมาณ 1-2 สัปดาห์

5. แพทย์จะแนะนําให้ผู้ป่วยตรวจวัดระดับการได้ยินเป็นระยะๆเพื่อประเมินผลการรักษา และอาจ

นัดติดตามผู้ป่วยในระยะยาว เนี่องจากผู้ป่วยบางรายที่ไม่ทราบสาเหตุ อาจพบสาเหตุในภายหลังได้

นอกจากนั้น ผู้ป่วยควรป้องกันไม่ให้ประสาทหูเสื่อมมากขึ้น โดย

- หลีกเลี่ยงเสียงดัง

- ถาเป็นโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, โรคไต, โรคกรดยูริกในเลือดสูง,

โรคซีด, โรคเลือด ควบคมโรคให้ดี

- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทห เช่น aspirin, aminoglycoside, quinine

- หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ หรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู

- หลีกเลี่ยงการติดเชื้อของหู หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน

- ลดอาหารเค็ม หรอเครื่องดื่มบางประเภทที่มีสารกระตุ้นประสาท เชน กาแฟ, ชา, เครื่องื่ดม

นํ้าอัดลม (มีสารคาเฟอีน), งดการสูบบุหรี่ (มีสารนิโคติน)

- พยายามออกกําลังกายสมํ่าเสมอ ลดความเคีรยด วิตกกังวล

- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

สวนใหญ่ประสาทหูเสื่อมชนิดเฉียบพลัน แบบไม่ทราบสาเหตุ ถ้าผู้ป่วยมาพบแพทย์เร็ว

โดยเฉพาะใน 2 สัปดาหแรกหลังเป็น (golden period) และได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม จะมี

โอกาสสูง ที่จะมีการได้ิยนกลับมาเป็นปกติได้ (ส่วนใหญ่การได้ยินมักจะดีขึ้น ภายใน 2 สัปดาห์

แรกของการสูญเสียการไดยิน) ดังนั้นเมื่อรู้สึกว่ามีการได้ยินในหูท่านลดน้อยลงอย่างเฉียบพลัน

อย่างนิ่งนอนใจนะครับ รีบมาพบแพท์ยหู คอ จมูกโดยเร็ว เพราะถ้าให้การรักษาช้าไป ไม่

ทันท่วงที อาจเกิดความพิการในูหท่านอย่างถาวรได้

__เครดิต รศ.นพ. ปารยะ อาศนะเสน______________________________________________